การเป็นเจ้าของที่ดินตามกฎหมายครอบครองที่ดินหรือกฎหมายแพ่งและพาณิชย์การปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2497 มีดังนี้
ตามกฎของกระทรวงมหาดไทย ชาวต่างชาติไม่สามารถที่จะเป็นเจ้าของที่ดินได้ ไม่ว่าจะเป็นที่ดินส่วนบุคคล, บริษัทหรือหุ้นส่วน อย่างไรก็ตามกฎหมายที่ร่างขึ้นมานั้นก็ได้มีข้อยกเว้น ตามกฎหมายที่ดินมาตราที่ 97 ได้ระบุไว้ว่า ชาวต่างชาติมีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของที่ดิน ถ้าบุคคลนั้น ๆ มีหุ้นส่วนที่เป็นคนไทย หรือบริษัทของไทยที่ได้ลงทะเบียนตามกฎหมาย ชาวต่างชาติต้องมีหุ้นส่วนอยู่มากกว่า 49% หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท
ถึงแม้ว่าชาวต่างชาตจะไม่สามารถเป็นเจ้าของที่ดินได้ แต่สามารถที่จะเป็นเจ้าของตึก, บ้าน, คอนโด ฯลฯ ได้ ถ้าชาวต่างชาติต้องการที่จะซื้อที่ดินเพื่อที่จะสร้างบ้านของตนเอง โดยมีทางเลือก 2 ทาง ดังนี้
สิ่งแรกที่ชาวต่างชาติต้องทำคือ สร้างบริษัทร่วมหุ้นโดยมีคนไทยร่วมหุ้นเป็นส่วนมาก การสร้างบริษัทนั้นจะต้องจัดทำโดยทนายเพื่อความถูกต้องตามกฎหมาย และเพื่อป้องกันการเสียเปรียบของชาวต่างชาติ ดังนั้นเมื่อมีการจัดตั้งบริษัทขึ้นชาวต่างชาติจะมีสิทธิในการซื้อที่ดินผูกขาด โดยผ่านบริษัทที่ได้จัดตั้งขี้น ชื่อเจ้าของที่ดินจะเป็นชื่อของบริษัทที่จัดตั้งขึ้นมานั้นเอง จะไม่สามารถเป็นชื่อบุคคลได้
การเป็นเจ้าของบ้านหรือที่ดินส่วนบุคคลโดยผ่านบริษัทที่ตั้งขึ้นมา โดยการเป็นผู้ถือหุ้นและมีหุ้นส่วน ส่วนใหญ่เป็นคนไทย ซึ่งได้รับการจัดตั้งโดยทนายเป็นวิธีที่ชาวต่างชาตินิยมมาก เพราะกฎหมายมีข้อยกเว้นมากมายเมื่อใช้ชื่อบริษัท ถึงแม้ว่ากฏเกณฑ์ต่าง ๆ จะแตกต่างกันออกไปในประเทศไทย โดยทั่วไปแล้วจุดยืนจะอยู่ที่บริษัทจะต้องมีชาวไทยเป็นผู้ถือหุ้นเป็นส่วนมาก แต่เงินต้นทุนส่วนใหญ่จะเป็นเงินของชาวต่างชาติตามกฏหมาย
เป็นอีกวิธีหนื่งที่ชาวต่างชาติได้นิยมใช้ในการซื้อบ้านและที่ดิน โดยวิธีการเช่าที่ดินเป็นระยะเวลา 30 ปีขึ้นไป โดยมีสิทธิที่จะต่ออายุอีก 30 ปีขึ้นไปได้เช่นกัน
การเช่าระยะยาวโดยปกติมีระยะเวลาเพียงครั้งละ 30 ปี นอกเสียจากว่าเป็นที่ดินอุตสาหกรรมซื่งมีระยะเวลา 50 ปีขึ้นไป จุดเด่นของการเช่าที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างอยู่แล้วคือ ชื่อบ้านและชื่อที่ดินจะแตกต่างกัน ถ้าที่ดินหมดอายุและไม่มีการต่อสัญญา บ้านที่สร้างอยู่จะไม่มีสิทธิที่จะโดนยึด แต่ถ้าที่ดินหมดอายุไปแล้วมากกว่า 3 ปี จะมีสิทธิต่ออายุได้อีกเพียง 3 ปีเท่านั้น นอกจากว่าได้ลงทะเบียนไว้กับกรมที่ดินเรียบร้อยแล้วซึ่งมีสิทธิบ้านจะได้ขายไปแล้ว ที่ดินก็ยังมีสิทธิเช่าอยู่
การครอบครองที่ดินตามกฎหมายจะต้องมีการจดทะเบียนที่ดินกับกรมที่ดิน ซึ่งเรียกว่า "โฉนด" สามารถมีชื่อเจ้าของได้มากกว่า 1 คน ผู้ที่มีชื่ออยู่ในโฉนดไม่ว่าจะมีกี่คนก็ตามจะเป็นมีสิทธิ์ในการขาย,ปรับปรุง, และเปลี่ยนแปลงบ้านและที่ดินได้ตามกฎหมาย
ได้มีการเปลี่ยนกฎหมายสำหรับผู้หญิงหรือผู้ชายไทยที่แต่งงานกับคนต่างชาติ ซึ่งชาวต่างชาติจะมีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดินได้ก็ต่อเมื่อที่ดินผืนนั้นเป็นที่ดินที่ใช้ร่วมกัน ด้วยเหตุนี้ทำให้ชาวต่างชาติมีความสะดวกสบายในการเป็นเจ้าของที่ดิน ดังนั้นจึงได้มีการร่างเอกสารขึ้นว่า คู่สมรสชาวต่างชาติจะต้องเซ็นต์รับว่าเขาจะไม่มีสิทธิในการเป็นเจ้าของใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งที่ดิน, บ้าน, หรืออสังหาริมทรัพย์ต่างๆในประเทศไทย ไม่ว่าจะซื้อเพื่อเป็นบ้านพักร้อน หรือเช่าระยะยาวในยามปลดเกษียร แต่ก็ยังมีกฏหมายต่างๆมากมายที่เอื้อประโยชน์ให้กับคู่สมรสชาวต่างชาติเช่นกัน
อสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยได้เป็นที่น่าสนใจในกลุ่มนักลงทุนชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก ดังนั้นชาวต่างชาติสามารถรลงทุนซื้อคอนโดมิเนี่ยมและเป็นเจ้าของได้ตามกฏหมาย
ตามพระราชบัญญัติอาคารชุดปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ.1979) คอนโดถูกกำหนดให้เป็นอาคารที่สามารถมีส่วนแยกขายให้กับบุคคลหรือกลุ่มคนได้โดยชอบธรรม โดยต้องมีคนไทยเป็นเจ้าของ 51% และชาวต่างชาติ49%
ส่วนใหญ่แล้วจะต้องนำหลักฐานการโอนเงินเข้าจากต่างประเทศมายังธนาคารในประเทศไทย ในรูปแบบของ ต.ต.3 เป็นเอกสารให้ธนาคารในประเทศไทยออกให้ได้
การเป็นเจ้าของคอนโดสามารถสืบต่อกันได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับทายาทที่มาสืบต่อนั้น ถูกต้องตามกฏหมายและหลักเกณฑ์ของกองตรวจคนเข้าเมือง มิฉะนั้นหลังจากได้การสืบทอดแล้ว จะต้องขายภายใน 1 ปี
ทนายความจำเป็นที่ต้องมีเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารต่าง ๆ ซื่งสามารถทำงานควบคู่กับบริษัทขายอสังหาริมทรัพย์ไปด้วย เพื่อความสบายใจของผู้ซื้อ
การเช่าคอนโดระยะยาวมากกว่า 30 ปี และต่ออายุไปอีก 30ปี เป็นไปได้ เพียงแต่ว่าถ้าให้เช่ามากกว่า 3 ปี จะต้องไปทำเรื่องที่กรมที่ดินของที่อยู่ของคอนโดนั้น ๆ จดทะเบียนและดำเนินเรื่องตามกฏหมายกรมที่ดิน