นอกเหนือจากข้อยกเว้นบางส่วน คนต่างด้าวที่ต้องการทำงานในประเทศไทยต้องมีใบอนุญาตทำงาน ตามกฏหมายของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
คำว่า ‘ งาน ‘ คือสิ่งที่ครอบคลุมถึงการปฏิบัติทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ จะพูดให้ละเอียดการทำงานที่ต้องใช้แรงงานหรือแรงสมอง คือการทำงานทั้งสิ้น ไม่ว่าคุณจะได้รับเงินเดือนหรือได้รับค่าทดแทนอย่างไรก็ตาม การทำงานสำหรับคนต่างด้าวนั้นถ้าไม่มีใบอนุญาตทำงาน แม้ว่าจะทำงานเพียงวันเดียวในประเทศไทยก็ถือว่าเป็นการทำผิดกฏหมาย ผู้ว่าจ้างที่ละเมิดกฎหมายนั้นจะมีโทษคือ ปรับ 60,000 บาท หรือติดคุก 3 ปีขึ้นไป หรือทั้งจำทั้งปรับ แรงงานต่างด้าวที่ละเมิดกฎหมายจะโดนปรับ 5,000บาท หรือติดคุก 3 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ
คนต่างด้าวที่มีใบอนุญาตตามกฎหมายแล้ว สามารถเปิดบัญชีกับธนาคาร, ขอบัตรเครดิต, กู้เงิน,ทำสัญญาเปิดสายโทรศัพท์และโทรศัพท์มีอถือ, และซื้อรถยนต์หรือรถมอเตอร์ไซค์ในประเทศไทยได้ นอกจากนี้ยังสามารถที่จะนำของใช้ส่วนตัวเข้ามาในประเทศไทยได้ แม้กระทั่งมีสิทธิที่จะขอวีซ่าปีต่อปีได้ด้วย อย่างไรก็ตามตามกฏหมายชาวต่างด้าวยังไม่สามารถที่จะเป็นเจ้าของบ้านและที่ดินได้
ชาวต่างชาติที่มีใบอนุญาตทำงานสามารถทำงานได้ ปีต่อปี โดยต้องต่อสัญญาก่อนที่มันจะหมดอายุ ส่วนอายุการทำงานนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละบุคคล เช่นคนต่างด้าวที่ถือวีซ่านักท่องเที่ยวหรือวีซ่าเดินทางผ่านไม่สามารถที่จะทำงานในประเทศไทยได้ นอกเสียจากคุณจะมี non immigration visa ที่ได้รับการอนุญาตแล้วจาก องค์การส่งเสริมการลงทุน (BOI) อย่างไรก็ตามวีซ่าทุกประเภท ถึงแม้จะมีใบอนุญาตทำงานแล้วก็ตามแต่จะต้องไปรายงานตัวที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองทุกๆ 90 วัน
ผู้ว่าจ้างจะต้องเป็นผู้ที่ไปขอใบอนุญาตทำงานให้แก่ลูกจ้างชาวต่างด้าว ซึ่งตามกฎหมายของประเทศไทยได้กำหนดให้จำนวนคนต่างด้าวที่ทำงาน 1:4 คือคนต่างด้าว 1 คน ต่อคนไทยในบริษัท 4 คน นี่คือตัวอย่างเท่านั้น รายละเอียดอย่างถี่ถ้วน ต้องขึ้นอยู่กองทุนการจัดตั้งของบริษัท
ตามหลักของการขอใบอนุญาตทำงานนั้น คุณจะต้องมีวีซ่าแบบ non-immigration visa หรือ ใบอนุญาตทำงาน(residence permit) อนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานได้เฉพาะสถานที่เจาะจงในใบอนุญาตเท่านั้น ถ้าบุคคลต่างด้าวนั้นได้ไปทำงาน ต่างจากสถานที่ๆกำหนดไว้ในใบอนุญาต จะเป็นการละเมิดกฏหมายโดยทันที